Responsive
Responsive คือ แนวคิดการออกแบบที่เรียกว่า "One
Size Fit All" คือ ออกแบบเพียงครั้งเดียว
แต่สามารถใช้ได้กับทุกขนาดของหน้าจอ โดยเว็บไซต์จะสามารถตรวจจับขนาดของหน้าจอ ปรับขนาด
และ Layout ให้เหมาะสมตามขนาดของหน้าจอโดยอัตโนมัติ
โดยอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่าง Layout
ของเว็บแบบ Flexible Grid, รูปภาพแบบ Flexible
Image และ CSS3 Media Query
บางคนอาจถามว่าปัจจุบันเราก็สามารถดูเว็บไซต์ต่างๆบนมือถือได้อยู่แล้ว
โดยไม่เห็นต้องออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นแบบ Responsive ให้ยุ่งยาก ซึ่งก็ถูกต้องแต่สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ได้รับการออกแบบมาในแบบ Responsive
เวลาดูข้อมูลจะต้องใช้การ Zoom เข้ามาดูทีละส่วน
เพราะว่าไม่มีความสามารถในการปรับรูปแบบให้เหมาะสมตามขนาดของหน้าจอนั่นเอง
ซึ่งแตกต่างจากเว็บไซต์ที่ได้รับการออกแบบมาในแบบ Responsive ซึ่งจะสามารถปรับ ขนาดของรูปภาพ และ Layout ของเว็บ
ให้เหมาะสมตามขนาดของหน้าจอ ทำให้ดูข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
เว็บไซต์ที่ออกแบบมาตามปกติโดยไม่ได้ใช้เทคนิค
Responsive เวลาแสดงผลบน Mobile Device จะเป็นเพียงแค่การย่อขนาด เพื่อให้สามารถแสดงผลได้บนหน้าจอเท่านั้น
แต่จะไม่สามารถปรับรูปแบบ หรือ Layout ให้เหมาะสมตามขนาดหน้าจอ
ในขณะนี้เว็บที่ได้รับการออกแบบมาโดยใช้เทคนิคการออกแบบเว็บไซต์แบบ Responsive
จะสามารถปรับ Layout และ ขนาดของรูปภาพ
ให้เหมาะสม ตามขนาดของหน้าจอ ทำให้มี User Experience ที่ดีกว่า
ประโยชน์ของการออกแบบเว็บไซต์แบบ
Responsive
1.แสดงผลได้สวยงาม บนขนาดหน้าจอที่แตกต่าง
2.ออกแบบเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้ได้กับขนาดหน้าจอที่หลากหลาย
3.มี Experience ในการใช้งานที่ดีกว่า
ดูข้อมูลได้ง่าย โดยไม่ต้อง Zoom
4.ประหยัดเวลา และ ค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการทำ 2 เว็บไซต์
5.ช่วยในเรื่องของการทำ SEO (Search Engine
Optimization)
ปัจจุบันแม้แต่ทาง
Google เอง ก็ได้ออกมาชักชวนให้เหล่าบรรดา Web
Master ทั้งหลาย พัฒนาเว็บไซต์ของตน ในแบบ Responsive คือ พัฒนาเพียงเว็บไซต์เดียว แต่ให้ใช้งานได้บนหน้าจอขนาดอื่นๆด้วย
ซึ่งการที่ Google ออกโรงมาผลักดันด้วยตัวเอง
ก็น่าจะพอเห็นทิศทางการพัฒนาเว็บไซต์ในอนาคตได้ว่า กำลังจะไปในทิศทางใด
Responsive ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยในเรื่องของการปรับรูปแบบแสดงผลเป็นหลัก
แต่ก็ยังขาดสมบูรณ์ในเรื่องของความสามารถในการช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของ Bandwidth
ยกตัวอย่างเช่น การแสดงผลรูปภาพ ซึ่งใช้วิธีการ ย่อ/ขยาย scale
ของรูป เพื่อให้แสดงผลได้เหมาะสมบนหน้าจอขนาดต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ยังคงใช้ไฟล์รูปภาพไฟล์เดียวกันกับที่ใช้แสดงผลบน Notebook/PC ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีขนาดใหญ่ และมีความต้องการ Bandwidth สูง ทำให้เมื่อนำมาแสดงผลบน Mobile Device ถึงแม้จะปรับย่อขนาดให้ดูเล็กลง
แต่เนื่องจากขนาดของไฟล์ที่ยังคงมีขนาดเท่าเดิม ทำให้แสดงผลได้ช้า
และเป็นการสิ้นเปลือง Bandwidth โดยไม่จำเป็น
ซึ่งมาตรฐานในส่วนนี้ กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
ซึ่งคาดว่าคงจะมีให้ใช้กันในอีกไม่ช้านี้
ที่มา : http://8columns.com/articles/50009/1387278156096
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น