วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)


ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)


           ปรากฏการณ์เรือนกระจก คือ การที่โลกถูกห่อหุ้มด้วยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศโลกก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันหากไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด

                 



ภาวะโลกร้อน (Global warming)

      ภาวะโลกร้อน (Global warming) เกิดจากปรากฏการณ์เรือนกระจกที่รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ โดยความร้อนจากดวงอาทิตย์ถูกเก็บกักไว้ในโลกมากขึ้นส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้นเป็นโดยกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนสำคัญที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เช่น
การผลิตและใช้พลังงาน การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเกษตรอุตสาหกรรมการตัดไม้ทำลายป่า การรั่วไหลของก๊าซจากอุตสาหกรรม การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีก๊าซเรือนกระจกเป็นองค์ประกอบเป็นต้น

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)

      คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศโลกห่อหุ้มโลกไว้เสมือนเรือนกระจก ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิของโลกให้คงที่
     ก๊าซเรือนกระจก อาจแบ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตามธรรมชาติและก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม โดยองค์ประกอบที่สำคัญของก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ไอน้ำ (ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตามธรรมชาติที่มีสูงสุดคือประมาณร้อยละ 60), ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ประมาณร้อยละ 26), ก๊าซโอโซน โดยก๊าซที่มีเป็นส่วนน้อยคือก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์ ส่วนก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ฮาโลคาร์บอน (Halocarbons), ซีเอฟซี (CFC), HCFC-22 ( เช่น Freon และ Perfluoromethane), และ SF6 (SulphurHexafluoride) เป็นต้น

ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต

      ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอีกอย่างว่าเป็นสนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิอากาศของโลก คือ บันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับเดียวของโลกที่มีเป้าหมายผูกพัน คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เท่านั้น ได้แก่
      - ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
      - ก๊าซมีเทน (CH4)
      - ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O)
      - ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC)
      - ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และ
      - ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6)

      ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว

ที่มา : http://www.environnet.in.th/?page_id=3708

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น